Command Line Interface (CLI)

Command Line Interface คืออะไร?

Command Line Interface หรือ CLI เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบ text mode โดยจะรับ Input ที่เป็นคำสั่ง (command) จาก user หรือผู้ใช้งานที่พิมพ์ลงไป เพื่อไปทำงานโดยการสั่งการให้ระบบ หรือ OS ทำตามคำสั่งนั่นเอง

แนะนำ Cmder

Cmder ก็คือ CLI ที่เหมือนกับ command prompt ที่อยู่บน windows หรือ terminal บน Mac แต่ Cmder จะมีคำสั่งลัดที่โดยปกติ command prompt หรือ terminal จะไม่มี

คำสั่ง Cmder

  1. cd [path] -> เป็นคำสั่งสำหรับ Change Directory หรือเข้าถึงโฟลเดอร์ ตาม path ที่เรากำหนด

ตัวอย่าง ถ้าพี่ต้องการเข้าถึงไฟล์ P_GameDev จากหน้า Desktop พี่ก็จะเขียนคำสั่งตามนี้

จากภาพด้านบน ตำแหน่งปัจจุบัน (Current Directory) ของพี่อยู่ที่ Desktop ซึ่งโฟลเดอร์ P_GameDev เป็น Subdirectory ที่อยู่ใน Desktop พี่เลยหาไฟล์จากตำแหน่งนี้ได้เลย โดยใช้คำสั่ง cd ตามด้วยชื่อโฟลเดอร์ หรือ path ก็คือ P_GameDev

เท่านี้ก็เข้ามาภายในโฟลเดอร์ P_GameDev แล้ว

Tips : น้อง ๆ สามารถพิมพ์ cd [ชื่อไฟล์ส่วนหนึ่ง] แล้วลองกด TAB ดูสิ [ จะเป็นการ auto complete ชื่อไฟล์ที่เราค้นหา]

Tips : ถ้าน้อง ๆ อยากรู้ว่าในโฟลเดอร์นั้นมีไฟล์อะไรบ้าง ลองใช้คำสั่ง ls (list) ดูสิ จะทำการ list ไฟล์ หรือโฟลเดอร์ ออกมา

ถ้าต้องการกลับไปโฟลเดอร์หรือ path ก่อนหน้านี้ (parent directory) ก็สามารถใช้คำสั่ง cd .. ได้

หรือจะกลับออกไปมากกว่า 1 โฟลเดอร์ก็ได้ ทำตามนี้

Tips : cd / จะเป็นการกลับไปที่ root หรือ path เริ่มต้น ในที่นี้คือ C :

2. yarn -> เป็นคำสั่งสำหรับการติดตั้ง deploy โปรเจกต์ของเรา ซึ่งถ้าต้องการติดตั้งนั้นก็จะต้องลง node.js และ yarn ก่อน

? เราจะใช้คำสั่ง yarn เฉพาะตอนที่ลงโปรเจกต์ใหม่ และเมื่อเข้าครั้งต่อไปก็ไม่ต้อง yarn อีกครั้ง (แต่ถ้าไม่เเน่ใจจะ yarn ก่อนก็ได้นะ🤣)

3. code . -> จะเป็นคำสั่งสำหรับเปิดโปรแกรม Visual Studio Code สำหรับแก้ไขโค้ดในโฟลเดอร์นั้น ๆ

4. yarn dev -> เป็นคำสั่งเพื่อทดสอบ deploy ตัวเกมแบบ real-time บนเว็บฮับ เมื่อเราใช้คำสั่งนี้เกมก็จะขึ้นมาที่ browser ของเรา

หยุดการ Run ด้วยการกด Ctrl+C และพิมพ์ y เพื่อยืนยันการหยุด Run

Tips : เคลียร์หน้า cmder ด้วยคำสั่ง clear

สรุปคำสั่งและหลักการทำงาน ได้ดังนี้

  1. ใช้คำสั่ง cd เพื่อไปโฟลเดอร์ของเกม

  2. ใช้คำสั่ง yarn เพื่อติดตั้ง deploy

  3. ใช้คำสั่ง code . เพื่อเปิดโฟลเดอร์โปรเจกต์ผ่าน VS Code และเขียนโค้ด

  4. ใช้คำสั่ง yarn dev เพื่อทดสอบ deploy ตัวเกมแบบ real-time บนเว็บฮับ

Last updated